ReadyPlanet.com


ฮอร์โมนเพศหญิง ในทุกช่วงวัยและวัยหมดประจำเดือน


 ฮอร์โมนเพศหญิง ในทุกช่วงวัยและวัยหมดประจำเดือน หากมีฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป อาจทำให้หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวนง่าย มีการสะสมไขมันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคอ้วน และเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งบางชนิดและไขมันในเส้นเลือด การใช้ฮอร์โมนเสริมเพื่อทดแทนฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างลดลงในผู้หญิงวัยทอง จะช่วยลดอาการต่าง ๆ รวมถึงป้องกันการเกิดกระดูกพรุนในระยะยาว แต่อาจส่งผลเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งบางชนิด โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงมีข้อห้ามในการใช้ในผู้ป่วยบางกลุ่ม จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจระดับฮอร์โมนและพิจารณาการใช้ยา ไม่ควรซื้อฮอร์โมนทดแทนรับประทานเอง ฮอร์โมน (Hormones) คือสารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายให้ดำเนินไปได้ตามปกติ นอกจากเพศหญิงและชายจะมีฮอร์โมนแตกต่างชนิดซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกัน ปริมาณและการทำหน้าที่ของฮอร์โมนในแต่ละช่วงอายุก็ยังแตกต่างกันไปอีกด้วย ฮอร์โมนเพศหญิง ที่สำคัญได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน FSH และ LH ดังนี้ ฮอร์โมน เอสโตรเจน (Estrogen) ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนที่สำคัญ ทำหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง ผลิตจากรังไข่เป็นส่วนใหญ่ และมีส่วนน้อยที่ผลิตจากต่อมหมวกไตและเซลล์ไขมัน โดยจะมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเพศ ลักษณะของเพศหญิง การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ และการหมดประจำเดือน ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์จะมีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ 15-350 pg/mL โดยจะแตกต่างกันในช่วงของการตกไข่และมีประจำเดือน ส่วนในวัยหมดประจำเดือนจะมีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดต่ำลงที่ <10 pg/mL หากมีฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไปอาจทำให้มีการสะสมไขมันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคอ้วน ทำให้หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวนง่าย และเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งบางชนิดและไขมันในเส้นเลือด  



ผู้ตั้งกระทู้ มะม่วง (Black-and-whiteTH-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2023-07-01 10:59:13


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล